ความรู้เบื้องต้นของ Cloud Computing

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing) เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น
การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการของเวอร์ชัวไลเซชันและเว็บเซอร์วิซ โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น
ทำให้คุณเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ พื้นที่จัดเก็บ ฐานข้อมูล และบริการแอปพลิเคชั่นมากมายบนอินเทอร์เน็ตได้ ผู้ให้บริการบนระบบคลาวด์ เช่น Amazon Web Services เป็นเจ้าของและดูแลฮาร์ดแวร์เชื่อมต่อเครือข่ายที่จำเป็นสำหรับบริการแอปพลิเคชั่นเหล่านี้ ในขณะที่คุณเป็นผู้จัดเตรียม และใช้งานสิ่งที่คุณต้องการผ่านเว็บแอปพลิเคชั่น
ความหมาย                                                    
สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาให้คำจำกัดความ "cloud" ว่า มันเป็นอุปลักษณ์ จากคำในภาษาอังกฤษที่แปลว่า เมฆ กล่าวถึงอินเทอร์เน็ตโดยรวม ในรูปของโครงสร้างพื้นฐาน (เหมือนระบบไฟฟ้า ประปา) ที่พร้อมให้บริการกับผู้ใช้งานเมื่อมีความต้องการใช้ ผู้ให้บริการการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆส่วนใหญ่ จะให้บริการในลักษณะของเว็บแอปพลิเคชั่น โดยให้ผู้ใช้ทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์และข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ
การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆนั้น ถูกอธิบายถึงโมเดลรูปแบบใหม่ของเทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่เน้นการขยายตัวได้อย่างยืดหยุ่น สามารถที่จะปรับขนาดได้ตามความต้องการของผู้ใช้ และมีการจัดสรรทรัพยากร โดยเน้นการทำงานระยะไกลอย่างง่าย ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ตัวอย่างของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆที่เป็นที่รู้จัก เช่น ยูทูบ โดยที่ผู้ใช้สามารถเก็บวิดีโอออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องมีความรู้ในการสร้างระบบวิดีโอออนไลน์ หรือ ในระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น
ประวัติความเป็นมา
Cloud computing เชื่อว่าจะได้รับการคิดค้นโดย Joseph Carl Robnett Licklider ในปี 1960 กับการทำงานของเขาใน ARPANET เพื่อเชื่อมโยงผู้คนและข้อมูลจากทุกที่ทุกเวลา แต่ Kurt Vonnegut กล่าวถึงในหนังสือ Sirens of Titan (1959) ของเขา กล่าวถึงคลาวด์ว่า เป็นการลดภาระสำหรับทุกคนในปี 1994 AT&T เปิดตัว Persona Ink บริการแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการสื่อสารส่วนบุคคลและธุรกิจและผู้ประกอบการการจัดเก็บข้อมูล เป็นหนึ่งในคนแรกๆ ที่จะเป็นการบริการโดยมีพื้นฐานจากเว็บ และการอ้างอิงในโฆษณาของพวกเขาบอกว่า คุณสามารถคิดถึงสถานประชุมอิเล็กทรอนิกส์ของเราว่าเป็นเมฆ” Amazon Web Services เปิดตัวบริการการจัดเก็บข้อมูลของพวกเขาบนเมฆ AWS S3 ในปี 2006 และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและการยอมรับเป็นผู้จัดจำหน่ายการจัดเก็บข้อมูลของการบริการที่เป็นที่นิยม เช่น Smugmug, Dropbox และ Pinterest
โครงสร้าง
การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ จะเป็นการประมวลผลบนอากาศโดยการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องพึ่ง PC Server ซึ่งมีโครงสร้าง ดังนี้
1. กลุ่มเมฆของเซอร์ฟเวอร์ (cloud server) ซึ่งเป็นเซอร์ฟเวอร์จำนวนมหาศาลนับหมื่นนับแสนเครื่องที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน กลุ่มเมฆนี้ต่อเชื่อมเข้าหากันด้วยเครือข่ายเป็นระบบกริด ในระบบนี้จะใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชัวไลเซชั่นในการทำงานเพื่อให้โปรแกรมประยุกต์ขึ้นกับระบบน้อยที่สุด
2. ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User interaction interface) ทำหน้าที่รับคำขอบริการ จากผู้ใช้ในรูปแบบเว็บโปรโตคอล
3. ส่วนจัดเก็บรายการบริการ (Services Catalog) เก็บและบริหารรายการของบริการ ผู้ใช้สามารถค้นดูบริการที่มีจากที่นี่
4. ส่วนบริหารงาน (System management) ทำหน้าที่กำหนดทรัพยากรที่เหมาะสมเมื่อผู้ใช้เรียกใช้บริการ เมื่อมีการขอใช้บริการ ข้อมูลการขอ request จะถูกส่งผ่านให้ส่วนนี้
5. ส่วนจัดหาทรัพยากร (Provisioning services) จากนั้นส่วนบริหารงานจะติดต่อกับส่วนนี้ เพื่อจองทรัพยากรจากกลุ่มเมฆและเรียกใช้โปรแกรมประยุกต์แบบเว็บที่เหมาะสมให้ เมื่อโปรแกรมประยุกต์ทำงานแล้วก็จะส่งผลที่ได้ให้ผู้ใช้ที่เรียกใช้บริการต่อไป
6. ส่วนตรวจสอบข้อมูลการใช้งาน (Monitoring and Metering) เพื่อใช้ในการเก็บค่าบริการหรือเก็บข้อมูลสถิติเพื่อปรับปรุงระบบต่อไป
องค์ประกอบ
ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. อินเตอร์เน็ตที่มีช่องสัญญาณสูงจนเกือบจะไม่มีจำกัด (Nearly unlimited bandwidth)
2. เทคโนโลยีระบบเสมือนจริง (Increasingly sophisticated virtualization technologies)
3. สถาปัตยกรรมเครือข่ายที่รองรับการเข้าถึงพร้อมกันจำนวนมาก (Multitenant Architectures)
4. ลักษณะการใช้งานได้ของเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูง (Availability of extremely powerful)
จุดเด่น
1. Agility : มีความรวดเร็วในการใช้งาน
2. Cost : ค่าใช้จ่ายน้อย หรืออาจไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับ Client
3. Device and Location Independence : ใช้ได้ทุกที่แค่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
4. Multi-Tenancy : แบ่งการใช้ทรัพยากรให้ผู้ใช้จำนวนมากได้
5. Reliability : มีความน่าเชื่อถือ
6. Scalability : มีความยืดหยุ่น
7. Security : มีความปลอดภัย
8. Sustainability : มีความมั่นคง
ประโยชน์
ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆถูกใช้อย่างคุ้มค่า เนื่องจากเป็นการแบ่งปัน (Share) ทรัพยากรทั้งส่วนจัดเก็บข้อมูล แอพพลิเคชั่น และการประมวลผลบนอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) กล่าวคือดังนั้นผู้ที่ให้บริการจึงสามารถนำเสนอบริการแอพพลิเคชั่นในราคาที่ต่ำ กว่ากรณีที่คนที่ใช้จะลงทุนติดตั้งแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้งาน นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการปรับลด/ขยายขนาดของประสิทธิภาพของระบบประมวลผลได้ตามลักษณะการใช้งานจริง ผู้ที่ใช้จึงไม่จำเป็นต้องลงทุนเพื่อติดตั้งระบบไอทีเพื่อสำรองการใช้งานในบางช่วงเวลา แต่สามารถเรียกใช้ความสามารถจากผู้ที่ให้บริการ สำหรับผู้ที่ให้บริการการสำรองความสามารถไว้ให้บริการจะสามารถแบ่งปันความสามารถนี้ให้แก่ลูกค้าหลายรายจึงเกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมผู้ที่ใช้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น โดยอัตราค่าบริการของไอทีผ่านสภาพแวดล้อมกลุ่มเมฆ จะต่ำกว่าการลงทุนติดตั้งระบบไอทีเอง มีโอกาสที่จะเข้าถึงเทคโนโลยีได้ตลอดเวลา กรณีที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ผู้ที่ให้บริการมีความยืดหยุ่นที่จะนำเทคโนโลยีใหม่มาให้บริการบนสถาปัตยกรรม SOA (Service-oriented architecture) สถาปัตยกรรมที่แยกเซิร์ฟเวอร์ในส่วนของแอพพลิเคชั่น ทำให้แอพพลิเคชั่นบนเครือข่ายมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนบนเครือข่าย ผู้ที่ให้บริการจะกำหนดแพลทฟอร์มของแอพพลิเคชั่นบนกลุ่มเมฆของตน เช่นแพลทฟอร์มสำหรับ Google App Engine เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับผู้ที่พัฒนาแอพพลิเคชั่นสามารถนำผลงานไปให้บริการบนกลุ่มเมฆ โดยการเพิ่มบริการแอพพลิเคชั่นจะไม่กระทบในส่วนของผู้ที่ใช้ ผู้ที่ให้บริการสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริการถูกนำเสนอบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ที่ให้บริการสามารถติดตั้งอุปกรณ์ในทำเลที่ตั้งที่ห่างไกลซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการตั้งกิจการในย่านธุรกิจ แต่สามารถนำเสนอบริการให้แก่ลูกค้าได้ทั่วโลก หน่วยจัดเก็บข้อมูล ส่วนประมวลผล และแอพพลิเคชั่น ถูกแยกออกจากส่วนผู้ที่ใช้ ผู้ที่ให้บริการจึงสามารถดูแลรักษาระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ



Credit : https://th.wikipedia.org/wiki/การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ , https://earth709site.wordpress.com/2015/11/30/การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ/ , https://blog.sogoodweb.com/Article/Detail/9119 , https://sites.google.com/site/liuwirinyaa/xngkh-prakxb-khxng-rabb-cloud-computing , https://sites.google.com/site/korwten/home/hhhkkk , https://in7659.wordpress.com/2015/11/26/การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ/